วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาต่อในสถานศึกษาอื่นๆ



โรงเรียนช่าง กฟภ. รับสมัครนักเรียนชั้น ม.3 หรือเทียบเท่า



         โรงเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน เพื่อศึกษาต่อหลักสูตร 3 ปี ประจำปีการศึกษา 2556 ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อส่งไปปฏิบัติงานด้าน ไฟฟ้าแรงสูงทั่วประเทศและผู้ที่มีผลการเรียนดี มีโอกาสได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ต่อไป

         คุณสมบัติของผู้สมัคร 
         - เพศชาย
         - โสด สัญชาติไทย
         - รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าหรือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียน ร.ด. ปี 1 เท่านั้น
         - ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร น้ำหนักไม่น้อยกว่า 47 กิโลกรัม และต้องไม่เกินส่วนสูง ลบด้วย 100 ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
         - คะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ไม่ต่ำกว่า 2.00
         - สายตาปกติ ไม่สั้น ไม่เอียงหรือบอดสี
         - ไม่กลัวความสูง สามารถปฏิบัติงานบนที่สูงได้
         - ยินดีไปปฏิบัติงานประจำอยู่ที่สำนักงานในส่วนภูมิภาค



โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ



        โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
 ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2480 มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมนักเรียนวิศวกรรมรถไฟ ให้มีความรู้ ความชำนาญในกิจการรถไฟ ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิศวกรรมรถไฟ เรียน 1 ปีครึ่ง จบแล้วบรรจุเป็นพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ระดับ 4 โดยมีการฝึกภาคปฏิบัติ ให้มีความรู้ความชำนาญสมตามเป้าหมายของการรถไฟไทยค่ะ

ปี 2556 นี้ เปิดรับสมัครนักเรียนวิศวกรรมรถไฟในสาขาดังต่อไปนี้
  • สาขาวิชาช่างเทคนิคไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ไฟฟ้ากำลัง อิเล็คทรอนิกส์ แมคคาทรอนิกส์
  • สาขาวิชาช่างโยธา รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. การก่อสร้าง โยธา และงานสำรวจ
  • สาขาวิชาช่างเครื่องกล รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. สาขาวิชาช่างยนต์
  • สาขาช่างอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ไฟฟ้ากำลัง อิเล็คทรอนิกส์ แมคคาทรอนิกส์ และโทรคมนาคม
  • สาขาวิชาการเดินรถ รับผู้สำเร็จการศึกษา ระดับ ปวช. ในสายพาณิชยการ ส่าขาวิชาการบัญชี, เลขานุการ, การขาย, การตลาด ภาษาต่างประเทศ ธุรกิจค้าปลีก และคอมพิวเตอร์
           
          ต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.5 และนอกจากคุณสมบัติเรื่องวุฒิต่างๆ แล้ว ก็มีเรื่องลักษณะร่างกาย 
ไม่ตาบอดสี ไม่บกพร่องทางการได้ยิน หรือมีปัญหาการพูด ความสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร น้ำหนักและส่วนสูงได้มาตรฐาน กล่าวคือ รูปร่างและลักษณะร่างกายสมบูรณ์ไม่เป็นอุปสรรคต่องานที่เกี่ยวข้องนั้นเองจ้า ต้องจบ ร.ด. ปี 3 หรือไม่มีภาระทางทหาร


การศึกษาต่อวิทยาลัยนาฏศิลป์


          วิทยาลัยนาฏศิลป เป็นสถานศึกษาในสังกัดสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวง-ศึกษาธิการ มีทั้งหมด 12 แห่ง ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เปิดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีต่อเนื่องจากหลักสูตรนาฏศิลป์ชั้นสูง

ที่ตั้ง: วิทยาลัยนาฏศิลป ตั้งอยู่ถนนราชินี เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าใกล้โรงละครแห่งชาติ

พิธีไหว้ครูวิทยาลัยนาฏศิลป


การจัดการศึกษาในวิทยาลัยนาฏศิลป  จัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 สาย ใหญ่ ๆ คือ

1. วิชาสามัญ วิชาสามัญทุกระดับ จัดตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พลานามัย และศิลปศึกษา

2. วิชาศิลปะ วิชาศิลปะแต่ละสาขา เป็นหลักสูตรที่กรมศิลปากร จัดทำเองโดยได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนในระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นจะต้องเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่ง เมื่อเรียนชั้นกลางนักเรียนสามารถเลือกเรียนวิชาศิลปะสาขาอื่นเป็นวิชารองได้อีก




วิชาศิลปะที่เปิดสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป มี 3 สาขา คือ

1. สาขานาฏศิลป์ไทย
2. สาขาดุริยางค์ไทย
3. สาขาศิลปสากล

หลักสูตร

          วิทยาลัยนาฏศิลป ได้จัดการศึกษาแบ่งเป็น 4 ระดับดังนี้

- ระดับนาฏศิลป์ชั้นต้น
          ใช้ระยะเวลาเรียน 3 ปี มีหน่วยการเรียน 108 หน่วยการเรียน ประกอบด้วย

1.1 วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย ศิลปศึกษา
1.2 วิชาเลือกศิลปะ ( วิชาชีพ ) แบ่งเป็น 3 สาขา คือ
ก. นาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย โขน ละคร
ข. ดุริยางค์ไทย ประกอบด้วย ปี่พาทย์ เครื่องสาย คีตศิลป์ไทย
ค. ศิลปสากล ประกอบด้วย ดุริยางค์สากล คีตศิลป์สากล นาฏศิลป์สากล


คุณสมบัติพิเศษของผู้จะเข้าเรียน

1. วิชาศิลปะบางสาขา จำเป็นต้องเป็นผู้มีสัดส่วนดี หน้าตาสวยงาม เช่น ละคร บัลเล่ต์ บางสาขาจะต้องมีกระแสเสียงไพเราะ เช่น คีตศิลป์ไทย คีตศิลป์สากล
2. มีศิลปนิสัย หมายความว่า ต้องรักและสนใจ มีความถนัดในวิชาศิลปะที่จะเลือก และมีพื้นความรู้ในวิชาศิลปะที่เลือกพอสมควร

ระเบียบการรับสมัคร

1. ชั้นที่รับสมัครเข้าเรียน วิทยาลัยนาฏศิลป รับ 2 ระดับ คือ

- ระดับนาฏศิลป์ชั้นต้น
- ระดับนาฏศิลป์ชั้นกลาง


2. คุณสมบัติของผู้สมัคร

นาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ 1

- สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- อายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์
- มีสุขภาพดี ร่างกาย ใบหน้า กระแสเสียงเหมาะสมกับสาขาวิชาศิลปะที่เลือกเรียน


นาฏศิลป์ชั้นกลางปีที่ 1

- สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  หรือตามหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ 4 หรือหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบ เบ็ดเสร็จ ระดับ 4
- อายุไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์
- มีสุขภาพดี ร่างกาย ใบหน้า กระแสเสียงเหมาะสมกับสาขาวิชาศิลปะที่เลือกเรียน



3. จำนวนที่รับ

- ระดับนาฏศิลป์ชั้นต้น จำนวน 250 คน
- ระดับนาฏศิลป์ชั้นกลาง จำนวน 80 คน


สถานที่ตั้ง หน่วยงาน สถานศึกษาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร
ชื่อสถานศึกษาถนนอำเภอ / เขตจังหวัดรหัสไปรษณีย์โทรศัพท์โทรสาร
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ราชินีพระนครกรุงเทพมหานคร102000-2224-47040-2224-1359
วิทยาลัยนาฏศิลป์ราชินีพระนครกรุงเทพมหานคร102000-2224-14080-2224-1391
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่สุริวงศ์อำเภอเมืองเชียงใหม่50000(053)271-596(053)283-560
วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชนครศรีหัวไทรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช80000(075)341-066(075)341-066
วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง-อำเภอเมืองอ่างทอง14000(035)611-548(035)620-108 ต่อ 102
วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดกองพลสิบอำเภอเมืองร้อยเอ็ด54000(043)511-244(043)511-244
วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยจรดวิถีถ่องอำเภอเมืองสุโขทัย64000(055)611-280(055)612-460 ต่อ 124
วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์สนามบินอำเภอเมืองกาฬสินธุ์46000(043)811-317(043)821-075
วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรีรามเดโชอำเภอเมืองลพบุรี15000(036)412-150(036)412-447
วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีชวนะอุทิศอำเภอเมืองจันทบุรี22000(039)313-214(039)313-214
วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง-อำเภอเมืองพัทลุง93000(074)611-960(074)611-960
วิทยาลัยนาฏศิลป์สุพรรณบุรีสุพรรณบุรี-ชัยนาทอำเภอเมืองสุพรรณบุรี72000(035)535-247(035)535-248
วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมามิตรภาพอำเภอเมืองนครราชสีมา90280(044)465-152 ต่อ 103(044)465-153

การศึกษาต่อทางด้านทหาร ตำรวจ





          สำหรับน้องๆนักเรียน ชายที่จบชันมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือน้องๆที่กำลังศึกษาในชั้นม.ปลาย ที่มีอายุระหว่าง 14-17 ปี หากใครมีความประสงค์อยากจะรับใช้ประเทศชาติด้วยการรับราชการเป็นนายทหาร นายตำรวจ โรงเรียนเตรียมทหาร ถือว่าเป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบสนองความต้องการของน้องๆได้อย่างสมบูรณ์แบบ ครับ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรงเรียนเตรียมทหารกันก่อน จริงๆแล้วโรงเรียนเตรียมทหารไม่ได้เป็นผู้ทำการสอบคัดเลือกนักเรียนเองแต่ เป็นสถานศึกษาชั้นต้นของนักเรียนทหาร ผู้ที่ทำการจัดสอบจริงๆ แล้วคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกจากโรงเรียนเหล่านี้จะถูกส่งไปเรียนรวมกันที่ โรงเรียนเตรียมทหารเป็นเวลา 3 ปี เมื่อจบหลักสูตร 3 ปีจากโรงเรียนเตรียมทหารน้องๆจะได้วุฒิการศึกษาเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต หลังจากนั้นก็จะถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนต้นสังกัดก็คือโรงเรียนนายร้อยพระ จุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามที่น้องๆเลือกไว้ในตอนแรก ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้จะทำหน้าที่สอนให้เราเป็นนายทหาร นายตำรวจ ทั้งกายและใจ การศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารหรือโรงเรียนนายร้อยต้นสังกัดสิ่งที่น้องๆจะ ได้รับนอกเหนือจากความรู้ด้านวิชาการ และทางทหารแล้ว น้องๆ จะได้การฝึกฝนความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ปกป้องและรักษาความสงบให้กับประเทศ นอกจากนี้สิ่งที่นักเรียนทหาร นักเรียนตำรวจจะได้รับตลอดระยะเวลาในการศึกษาก็คือเรื่องของที่อยู่ อาหาร การรักษาพยาบาล อุปกรณ์การศึกษาที่ทางสถานศึกษาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด นอกจากนี้ในระหว่างการศึกษาน้องๆก็จะได้รับเงินเดือนประจำตามชั้นปีอีกด้วย เรียกว่าไม่ต้องเดือดร้อนเงินทองจากทางบ้านเลย

          สำหรับน้องๆที่อยากมี โอกาสได้รับพระราชทานกระบี่จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระบรมวงศานุวงศ์ผู้แทนพระองศ์ สิ่งที่น้องๆต้องความพร้อมก่อนการสอบคัดเลือกเข้าสู่สถาบันแห่งนี้ก็คือ เรื่องของความรู้และสภาพร่างกาย การสอบคัดเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนเตรียมทหารจะประกอบไปด้วยการสอบภาค วิชาการ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย รวมถึงมีการสอบด้านสุขภาพจิต สัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย และพลศึกษาอีกด้วย ซึ่งเป็นคัดเลือกบุคคลากรที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ จิตใจและร่างกาย เข้ามาทำงานรับใช้ประเทศชาติ
        
          ผู้ที่จบหลักสูตรนักเรียนทหาร นักเรียนตำรวจทุกนายจะได้รับการบรรจุเป็นนายทหาร นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ยศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี และร้อยตำรวจตรี รับราชการในหน่วยงานต้นสังกัด ดังนั้นผู้ที่จบมาไม่ต้องกลัวเรื่องการหารงานทำเพราะมีตำแหน่งงานรอรับอยู่ แล้ว สำหรับผู้ที่จบมาแล้วมีเกรดเฉลี่ยดีก็ยังมีโอกาสได้ทุนไปศึกษายังสถาบันการ ทหารต่างประเทศอีกด้วย เรื่องความก้าวหน้าในชีวิตรับรองได้ว่าผู้ที่จบจากสถาบันการศึกษาเหล่านี้ ยศนายทหาร นายตำรวจชั้นนายพล รอทุกท่านอยู่ครับ สำหรับการเปิดรับสมัครจะอยู่ช่วงต้นเดือนมีนาคม และเปิดสอบในช่วงต้นเดือนเมษายน ของทุกปี

โรงเรียนช่างฝีมือทหาร

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

จบม.3
---> สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เหล่าตำรวจ (สมัครผ่านร.ร.นายร้อยตำรวจ) โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 14-17 ปี จะรับเพศชายจำนวน 180 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปีจากร.ร.เตรียมทหารแล้ว จะได้รับวุฒิม.6 สายวิทย์ - คณิต และเข้าเรียนต่อปริญญาตรีที่ร.ร.นายร้อยตำรวจโดยไม่ต้องสอบคัด เลือกอีก เมื่อเรียนจบ 4 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นร้อยตำรวจตรี บรรจุทำงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

---> สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เหล่าตำรวจน้ำ (สมัครผ่านร.ร.นายเรือ) โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 14-17 ปี จะรับเพศชายจำนวน 10 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปีจากร.ร.เตรียมทหารแล้ว จะได้รับวุฒิม.6 สายวิทย์ - คณิต และเข้าเรียนต่อปริญญาตรีที่ร.ร.นายเรือโดยไม่ต้องสอบคัดเลือกอีก เมื่อเรียนจบ 4 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นร้อยตำรวจตรี บรรจุทำงานในส่วนของกองตำรวจน้ำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

กองบัญชาการกองทัพไทย

จบม.3 
 ---> สอบเข้าโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ในส่วนของภาคปกติ โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี จะรับเพศชายจำนวน 250 - 300 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ตามสาขาช่างที่เลือกศึกษา และแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพไทยส่วนหนึ่ง คือ หน่วยทหารพัฒนา 

---> สอบเข้าโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี และต้องมีความสามารถทางดนตรีทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ (ส่วนใหญ่จะเป็นด้านวงโยธาวาทิต ดุริยางค์ และเครื่องสาย) จะรับเพศชายจำนวน 35 นาย และเพศหญิงจำนวน 5 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ดนตรี และแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานตามกองดุริยางค์ทั่วประเทศ

---> สอบเข้าโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ในส่วนของภาคปกติ โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี จะรับเพศชายจำนวน 250 - 300 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ตามสาขาช่างที่เลือกศึกษา และแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพบกส่วนหนึ่ง (ยังมีโควต้าของกองทัพไทย และกองทัพอากาศอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเลือกหลังจบการศึกษาตามคะแนนสอบ) 

 ---> สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เหล่าทหารบก (สมัครผ่านร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า) โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 14-17 ปี จะรับเพศชายจำนวน 220 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปีจากร.ร.เตรียมทหารแล้ว จะได้รับวุฒิม.6 สายวิทย์ - คณิต และเข้าเรียนต่อปริญญาตรีที่ร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้าโดยไม่ต้องสอบคัดเลือกอีก เมื่อเรียนจบ 4 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นร้อยตรี บรรจุทำงานในกองทัพบก โดยส่วนหนึ่งจะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนการบินทหารบก เพื่อเป็นนักบินของกองทัพบก

งานแสดงดนตรี นักเรียนดุริยางค์ทหารบก

การศึกษาต่อด้านพยาบาลและสาธารณสุข



ศึกษาต่อด้านพยาบาลและสาธารณสุข ได้แก่ โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลรามาธิบดี วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย และโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




          เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นในการให้บริการด้านสุขอนามัยแก่ผู้ป่วย และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บต่างๆ ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุ การดูแลภาวะเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ภาวะอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย รวมถึงการสังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ผู้สำเร็จการศึกษาพยาบาล จะเป็นผู้ที่มีความพร้อมในการเป็นพยาบาลวิชาชีพทั้งในด้านความรู้ทักษะ และจริยธรรมของวิชาชีพ สามารถให้การพยาบาลทั่วไปได้อย่างมีคุณภาพทั้งในบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ กับบุคคลทุกวัย ครอบครัว และชุมชนในทุกภาวะสุขภาพ มีภาวะผู้นำ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีพื้นฐานทางปัญญา สามารถปรับตัว เรียนรู้อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นพลเมืองดี และผดุงไว้ซึ่งความเป็นธรรมและความถูกต้องของสังคม

โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลรามาธิบดี

ที่ตั้ง
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ถ.พระราม6 เขตพญาไท กทม.10400 โทร2459689 หรือ 2011698,2011604/h4>

หลักสูตรการศึกษา
ผู้ช่วยพยาบาล 1 ปี จำนวนรับ ประมาณ 80 - 100 คน

คุณสมบัติ
1. สำเร็จการศึกษา ม.3
2. เป็นหญิงโสต หรือชายโสด อายุไม่ตำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 22 ปี
3. มีสุขภาพสมบูรณ์ นำหนัก 40 กก. สูง 150 ซม. ไม่ทุพพลภาพ ไม่มีโรคประจำตัว อันจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนและปฏิบัติงาน หรือเป็นโรคที่ได้ระบุไว้ในกฎ ก.พ.
4. เป็นผู้มีศิลธรรมจรรยาและวัฒนธรรมดีงาม มีบุคลิกภาพเหมาะสมและสนใจในวิชาชีพผู้ช่วยพยาบาล

วิชาสอบ
ภาษาไทย อังกฤษ ความรู้ทั่วไป คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตรวจร่างกาย และสอบสัมภาษณ์

ค่าใช้จ่าย
มีค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าบำรุง ค่าสวัสดิการสุขภาพ และของใช้ที่จำเป็นในการศึกษา เป็นเงินคนละประมาณ 7,000 บาท

เมื่อสำเร็จการศึกษา
จะได้รับประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล หากคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาฯ ต้องการให้เข้าทำงานชดใช้ให้รพ. หน่วยราชการ หรือองค์การของรัฐอื่นใด ที่คณะแพทย์เห็นชอบ ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี และถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ จะต้องชดใช้เป็นเงิน 36,000 บาท โดยไม่มีการผ่อนชำระ

โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ที่ตั้ง
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต.สุเทพ จ.เชียงใหม่ 50002

หลักสูตรการศึกษา
ผู้ช่วยพยาบาล 1 ปี
คุณสมบัติ
1. สำเร็จการศึกษา ม.3 หรือการศึกษาผู้ใหญ่ระดับ 4 หรือเทียบเท่า
2. อายุไม่ตำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเปิดเรียน
3. มีสุขภาพสมบูรณ์ นำหนัก 40 กก. สูง 150 ซม. ไม่ทุพพลภาพ ไม่มีโรคประจำตัว อันจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนและปฏิบัติงาน หรือเป็นโรคที่ได้ระบุไว้ในกฎ ก.พ.
4. เป็นผู้มีศิลธรรมจรรยาและวัฒนธรรมดีงาม มีบุคลิกภาพเหมาะสมและสนใจในวิชาชีพผู้ช่วยพยาบาล
วิชาสอบ
ภาษาไทย อังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสอบสัมภาษณ์


การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา


เรียนอาชีวะฯ ดีอย่างไร




หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เวลาเรียน 3 ปี 

สถาบันอาชีวศึกษา

ว.เทคนิค/ว.อาชีวศึกษา/ว.เกษตรกรรม

ประเภทสาขาวิชา

1.อุตสาหกรรม
2.เกษตรกรรม
3.พาณิชยกรรม
4.คหกรรม
5.ศิลปกรรม




1. ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม




สาขาวิชาช่างกลโรงงาน   ศึกษาด้านงานโลหะ , การใช้เครื่องกลทุกชนิด , การเชื่อมโลหะฯ

สาขาวิชาช่างโลหะ   ศึกษาด้านการหล่อโลหะทุกชนิด การเชื่อมโลหะทุกชนิด,การเคลือบโลหะโลหะวิทยา,การประเมินราคาโลหะ ฯ

สาขาวิชาช่างยนต์   ด้านการตรวจซ่อมบำรุง สภาพเครื่องยนต์ รถยนต์, การพ่นสีรถยนต์ฯ

สาขาวิชาช่างไฟฟ้า     ด้านงานไฟฟ้าทั่วไป , เครื่องกลไฟฟ้า ควบคุมไฟฟ้าในโรงงาน ,ระบบเครื่องทำความเย็น ,อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์     ศึกษาทางทฤษฎี และ ปฏิบัติ วิชา เครื่องรับ – ส่งวิทยุ ,โทรทัศน์ ระบบโทรคมนาคม , วงจรอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมใหม่

สาขาวิชาช่างก่อสร้าง     ศึกษาด้านการคำนวณออกแบบโครงสร้าง,การเขียนแบบ , การประมาณราคาก่อสร้าง ฯ

สาขาวิชาช่างสำรวจ     ศึกษาด้านการทำแผนที่งาน , แผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ ฯ

สาขาวิชาช่างโยธา     ศึกษาด้านวิศวกรรม เกี่ยวกับงานการทาง , งานสำรวจ , งานโครงสร้าง ระบบสุขาภิบาลฯ

สาขาวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม     ศึกษาด้านพื้นฐานของช่างอุตสาหกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เขียนแบบวิศวกรรม , ทฤษฎีเกี่ยวกับงานอุตสาหกรรมฯ

สาขาวิชาการถ่ายภาพและภาพยนตร์     ศึกษาวิชาการถ่ายภาพ , ถ่ายภาพยนตร์ และเทคโนโลยีทางโทรทัศน์ , อุปกรณ์ เครื่องมือการถ่ายภาพ

สาขาวิชาช่างเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร     ศึกษาด้านการซ่อมเครื่องจักร การบำรุงรักษา เครื่องทุ่นแรงทางการเกษตร , การผลิตเครื่องมือทางการเกษตรและชลประทานเพื่อการเกษตรฯ

สาขาวิชาช่างเคหะภัณฑ์     ศึกษาออกแบบการผลิตเครื่องเรือน เขียนแบบ , ออกแบบ , พัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องไม้ ฯ

สาขาวิชาช่างผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์     ศึกษาการแปรรูปโลหะด้วยเครื่องมือกล , เครื่องเจาะ เครื่องไส , เครื่องเจียระไน , การออกแบบชิ้นส่วนการผลิต ฯ

สาขาวิชาการพิมพ์     ศึกษาด้านการอุตสาหกรรมการพิมพ์ การถ่ายภาพการพิมพ์,การแยกสีการพิมพ์,เรียงพิมพ์ ฯ

สาขาวิชาการออกแบบเสื้อผ้า , สาขาวิชาเทคโนโลยีเสื้อผ้า , สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ , สาขาวิชาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า     ศึกษาการออกแบบเสื้อผ้า , ออกแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผ้า ,อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ฯ

สาขาวิชาช่างแม่พิมพ์อัญมณี     ศึกษาการผลิตเครื่องประดับ ,ออกแบบ การทำตัวเรือน , การหล่อเครื่องประดับ


2. ประเภทวิชาเกษตรกรรม




สาขาวิชาพืชศาสตร์     ศึกษาทางด้านพืชไร่ , ไม้ผล พืชผัก พืชสวนประดับ , ปฐพีวิทยา , การปรับปรุงพันธ์พืช ฯ

สาขาวิชาสัตวศาสตร์     ศึกษาการเลี้ยง และจัดการฟาร์มทางด้านสัตว์ใหญ่ , สัตว์เล็ก สัตว์ปีก ฯ

สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร     การแปรรูป , การถนอมอาหาร , ผลิตภัณฑ์การเกษตร , ควบคุมและวิเคราะห์คุณภาพอาหารและการสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรม

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร     ศึกษาการจัดการวางแผนกำลังคน ควบคุมการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร

สาขาวิชาเทคโนโลยีการยาง     ศึกษาเทคโนโลยีการยาง , การควบคุมการผลิตอุตสาหกรรมยางดิบ ยางสำเร็จรูป ฯ

สาขาวิชาการประมงศึกษา     การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ , การอนุรักษ์สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง

สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์     ศึกษาการออกแบบและตกแต่งสถานที่ , งานภูมิทัศน์ ตกแต่งไม้ดอก ไม้ประดับ ฯ


3. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม




สาขาวิชาบัญชี     ศึกษาการจัดทำบัญชี , งบการเงินของธุรกิจทุกรูปแบบ , การตรวจสอบบัญชี

สาขาวิชาเลขานุการ     ศึกษาด้านการปฏิบัติงานสำนักงาน สามารถวิเคราะห์ ตัดสิน และปัญหาอย่างมีหลักการ

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์     ศึกษาหลักของคอมพิวเตอร์ การประมวลผล , รวบรวมข้อมูล , โปรแกรมสำเร็จต่างๆ

สาขาวิชาการตลาด     ศึกษางานบริหารธุรกิจ , การตลาด , การขาย , การจัดซื้อ ,บริหารคลังพัสดุ งานวิจัยและข้อมูลการตลาด ฯ

สาขาวิชาการเงินการธนาคาร     ศึกษาหลักการเศรษฐศาสตร์ , การบัญชีการเงิน , ตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจการธนาคาร การวางแผนและควบคุมทางการเงิน

สาขาวิชาการโรงแรม     ศึกษาการปฏิบัติงานธุรกิจการโรงแรม

สาขาวิชาการท่องเที่ยว     ศึกษาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวการบริหารและการบริการ

สาขาวิชาการจัดการ     ศึกษาการจัดการ , วางแผน , สั่งการ ควบคุมบริหารงานบริหาร งานสำนักงาน วิเคราะห์และประเมินผลโครงการ งบประมาณ , ด้านแรงงานสัมพันธ์


4.ประเภทวิชาคหกรรม




สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย     ศึกษาด้านเทคโนโลยีทางคหกรรมศาสตร์ ด้านผ้า และเครื่องแต่งกาย , ออกแบบ ,การตัดเย็บเสื้อผ้าอุตสาหกรรม ฯ

สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ     ศึกษาเทคนิคการทำอาหารแบบต่างๆ วิธีดำเนินธุรกิจด้านอาหารหลักโภชนาการ

สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป     ศึกษาวิชาชีพทางคหกรรมศาสตร์ การประดิษฐ์วัสดุต่างๆ ,ดอกไม้- ใบตอง ฯ


5. ประเภทวิชาศิลปกรรม




สาขาวิชาจิตรกรรม     การเขียนภาพด้วยสีต่างๆ , ภาพหุ่นนิ่ง รูปแบบงานจิตกรรมต่างๆ ,การใช้เทคนิคต่าง ๆ ด้านศิลปะ ฯ

สาขาวิชาประติมากรรม     ศึกษางานประติมากรรมทั้งแบบนูนสูง,นูนต่ำ , วิธีการแกะสลัก เทคนิคและวิธีการด้านประติมากรรม

สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์     ศึกษางานศิลปะภาพพิมพ์ , กรรมวิธีแม่พิมพ์ร่องลึก , วิธีการพิมพ์สอดสี , ผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ ทางศิลปะ



วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาต่อสายสามัญ


การศึกษาต่อ ชั้น ม.ปลาย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปี 2551  ช่วงชั้นที่ 3


มัธยมศึกษาตอนปลาย เรียนได้ที่ ...

- โรงเรียนรัฐบาล(สพฐ.)                                 
- โรงเรียนสาธิต (สกอ.)                               
- โรงเรียนเอกชน



กลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐาน

1.  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2.  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
3.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
4. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
6. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
-  กลุ่มสาระฯ เน้น   วิทย์ – คณิต
-  กลุ่มสาระฯ เน้น   ภาษา – คณิต (อังกฤษ)
-  กลุ่มสาระฯ เน้น   ภาษา – (ฝรั่งเศส ,เยอรมัน ,จีน ,ญี่ปุ่นฯ)
-  กลุ่มสาระฯ อื่นๆ ได้แก่  คอมพิวเตอร์ , ธุรกิจ , เกษตร ,ศิลปะ  อุตสาหกรรม , คหกรรม ฯ
* กลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  แต่ละโรงเรียนอาจจัดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความถนัด  และความพร้อมของโรงเรียน *







เส้นทางในการศึกษาต่อ...



          เส้นทางการศึกษาต่อเมื่อจบ ม.3 ผู้ที่จบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเลือกแนวทางการศึกษาต่อได้ 6 เส้นทาง ได้แก่

1. หลักสูตร 3 ปี ในโรงเรียนทั่วประเทศ กว่า 1,000 แห่ง ซึ่งสังกัดในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมสามัญศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน



2. ศึกษาต่อด้านอาชีวศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.3) ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และวิทยาลัยช่างศิลป์



3. ศึกษาต่อด้านพยาบาลและสาธารณสุข ได้แก่ โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลรามาธิบดี วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย และโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



4. ศึกษาต่อทางด้านทหาร ตำรวจ ได้แก่ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร โรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก และโรงเรียนจ่าอากาศ



5. ศึกษาต่อวิทยาลัยนาฏศิลป์ หลักสูตรนาฏศิลป์ชั้นกลาง 3 ปี ในวิทยาลัยนาฏศิลป์ทั่วประเทศ 12 แห่ง



6. ศึกษาต่อในสถานศึกษาอื่น ๆ ได้แก่ โรงเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน วิทยาลัยในวัง ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ และโรงเรียนนาวิกวาณิชย์




คิด.......ก่อนตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ



          คือ การตัดสินใจเลือกศึกษาในสายวิชาใดหรือสาขาใดนั้น ควรจะพิจารณาข้อมูลต่างๆ ก่อนการตัดสินใจ เช่น

1.การสำรวจตัวเอง คือ การมองตัวเองอย่างรู้จักและเข้าใจ รู้จักข้อดีข้อเสียของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น



1.1 ความสนใจ หรือความชอบในการทำกิจกรรมนั้นๆอย่างตั้งใจ
1.2 ความถนัด คือ การทำอะไรแล้วดูเข้าที ทาด้วยความคล่องตัว ทำแล้วดูดีและเหมาะสม
1.3 สติปัญญา คือ ความสามารถในการคิดค้นหาเหตุผล อาจดูได้จากผลการเรียนที่ผ่านมาในการพิจารณา
1.4 สุขภาพ ได้แก่ โรคประจำตัว ความสูง น้ำหนัก หรือความผิดปกติทางด้านร่างกาย
1.5 เป้าหมายในชีวิตและความคาดหวัง คือ ต้องการมีชีวิตการงานที่มั่นคง มีความก้าวหน้า มีเกียรติยศชื่อเสียง ความคาดวังนำไปสู่เป้าหมาย
1.6 ฐานะการเงินของผู้ปกครอง การศึกษาในระดับสูง มีความจำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการศึกษามากขึ้น

2. สำรวจโลกอาชีพ คือ การสารวจแนวโน้มตลาดแรงงาน ความต้องการกาลังคนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสารวจว่าอาชีพนั้นตรงกับความต้องการและบุคลิกภาพของตนมากที่สุดด้วยหรือเปล่า



3. สำรวจโลกการศึกษา คือ การแสวงหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาทั้งระบบการศึกษา หลักสูตร วิธีการรับเข้าศึกษา คุณสมบัติเฉพาะของแต่ละสาขา ค่าใช้จ่ายในการศึกษา รวมทั้งวุฒิการศึกษาที่ได้รับเมื่อสาเร็จการศึกษา